วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

สำนักงานแบบใหม่

หลักการเนื้อหาสำคัญๆของสำนักงานแบบใหม่



1. การไม่ยึดติด คือการไม่ตีกรอบในความคิดเดิมๆ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จที่เคยมีมาก่อน เพราะสามารถถูกแทนที่ด้วยความสำเร็จครั้งใหม่

2. การเรียนรู้

วิธีการสร้างสำนักงานแห่งการเรียนรู้ด้วยวินัย 5 ประการ คือ

2.1 การคิดเป็นระบบ

2.2 วิสัยทัศน์ร่วมกัน

2.3 รูปแบบจิตใจที่ท้าทาย

2.4 การเรียนรู้แบบทีม

2.5 เจ้านายส่วนตัว

-ทั้ง5วินัยนี้ช่วยให้ผู้บริหารสำนักงานเปลี่ยนวิธีคิดแบบเดิมและสร้างแนวคิดใหม่ จนเกิดเป็นสำนักงานหรือองค์การเพื่อการเรียนรู้

วิวัฒนาการของสำนักงานสู่การเป็นองค์การเรียนรู้มี3ขั้นตอน
ขั้นที่1 มีสายบังคับบัญชาแบบดั้งเดิม
ขั้นที่2 ผู้บริหารระดับสูงงเริ่มมอบอำนาจ
ขั้นที่3 พนักงานมีส่วนในการกำหนดทิศทางของกลยุทธ์

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

บริษัทที่นำReengineeringเข้ามาใช้



ความหมายของ
Reengineering


ความหมาย ระบบบริหารการปรับรื้อ Reengineering ความว่า การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว กิจกรรมหรือเทคนิคที่เน้นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยเฉพาะใช้กับธุรกิจที่มีการบริการมาก ๆ เช่น การธนาคาร หรือถ้าเกี่ยวกับการผลิต การปรับรื้อหมายถึง การเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ระบบนี้จึงใช้ในธุรกิจบริการมากกว่า เทคนิคนี้เน้นการทำงานเพื่อให้ถูกต้องตามเป้าหมายที่แท้จริงหรือแก่นแท้ของเหตุผลของงานนั้น ๆ โดยการเขียนแผนผังกระบวนการ แล้วพิจารณาโดยการระดมสมอง สัมภาษณ์ เลียนแบบ ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อปรับรื้อกระบวนการทำงาน

ตัวอย่างองค์การที่นำระบบนี้มาใช้
ม.ร.ว.จิยากร เสสะเวช ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยว่า กฟน. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาศึกษา จัดทำแผนปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาองค์กรโดยเน้นศึกษาระบบ BPR [ Business Process Reengineering
เพื่อรองรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตขณะนี้ผลการศึกษาและการจัดทำโครงการนำร่องได้แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
“ ที่ปรึกษาได้เข้ามาศึกษาข้อมูลใน กฟน.และ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนามากมาย เช่น การเสนอแนะกลยุทธ์การดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ.2545 — 2549 , การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ , โครงสร้างองค์กร , การพัฒนาบุคลากร และการจัดทำโครงการนำร่อง ( Pilot Project ) “ ม.ร.ว.จิยากร กล่าวว่า โดยเฉพาะโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นนั้น กฟน.ได้เลือกดำเนินการ โครงการรับชำระค่าไฟฟ้า ณ การไฟฟ้าเขตสามเสน ซึ่งในแต่ละวัน เฉลี่ยแล้วมีผู้ใช้ไฟฟ้ามาชำระค่าไฟฟ้า ณ การไฟฟ้าเขตไม่ต่ำกว่าเขตละ 1,000 ราย
จากสถิติการชำระค่าไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วน ระหว่าง 11.45 — 13.00 น. พบว่าจะเป็นช่วงที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามาใช้บริการมากที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่ผู้ใช้ไฟฟ้ารอชำระค่าไฟฟ้านานที่สุดด้วยเช่นกัน นานที่สุดเท่ารายละ 50 นาที ยอดเฉลี่ยรายละ 30 นาที โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะลดระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าลงให้เหลือไม่เกิน 10 นามีต่อรายในชั่วโมงเร่งด่วน
บริษัทที่ปรึกษาร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของการไฟฟ้านครหลวง ได้จัดระบบคิวและระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด และได้ทดลองระบบใหม่นี้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีที่แล้ว ขณะนี้ ผลการดำเนินการพบว่า สามารถลดระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วนลงได้เหลือประมาณรายละ 6 นาที ซึ่งดีว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มาก คาดว่าหลังจากสรุปผลและปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว จะขยายผลนำไปใช้ในทุกการไฟฟ้าเขต เชื่อว่าจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
อนึ่ง นโยบายของรัฐบาลกำหนดไว้ชัดเจนว่า รัฐวิสาหกิจจะต้องมีการแปรรูปหรือ ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามประแสโลก และจากผลการวิจัยทั่วโลกพบว่า องค์กรที่นำ ระบบ BPR [ Business Process Reengineering
] เข้ามาใช้ จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็วกว่า ด้วยเหตุนี้ กฟน.จึงได้ว่าจ้างทีมที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท Diebold จากประเทศเยอรมนี บริษัท T.N Information System Ltd. ร่วมกับคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า) เข้ามาศึกษาเพื่อนำระบบ BPR มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพและเป็นแนวทางพัฒนาองค์กร
การ Reengineering หรือการปรับกระบวนการทำงานของการไฟฟ้านครหลวง มี เป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยมีผลพลอยได้คือลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงาน ลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

แหล่งที่มาของข้อมูลwww.thaipr.com

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลูกเดือยเพื่อสุขภาพ

ลูกเดือย






ลูกเดือย จัดเป็นพืชตระกูลข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coix lachryma-jobi Linn var.mayuen Stapt Family Gramineae ในปัจจุบันนิยมนำมาเป็นส่วนผสมหนึ่งของน้ำ RC
สำหรับประโยชน์ของธัญพืชชนิดนี้ ในตำรายาจีนกล่าวว่า ลูกเดือย รสชุ่มจืด เย็น แก้ร้อนใน บำรุงไต บำรุงม้าม ปอด กระเพาะอาหาร ม้าม ขับปัสสาวะ รวมทั้งบำรุงเลือดลมในสตรีหลังคลอดรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แก้ไข้ เหน็บชา ชักกระตุก สตรีตกขาวมากกว่าปกติ ในตำรายาจีนจึงมักใช้ลูกเดือยบดผสมข้าว ต้มเป็นข้าวต้มกินทุกวันเพื่อบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บวมน้ำ ปวดข้อเรื้อรัง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการรับประทานลูกเดือยต้มน้ำตาลสามารถที่จะแก้ร้อนในได้
เมื่อพิจารณาส่วนประกอบทางเคมีของลูกเดือยมี
- คาร์โบไฮเดรต 58-62%
- ไขมัน 5%
- โปรตีน 12%
- น้ำ 10.8 %
- ใยอาหาร 8.4 %
นอกจากนี้ในลูกเดือยยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง เป็นต้น
ดังนั้นลูกเดือยเป็นอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายสูง จึงมีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง และการที่มีวิตามินบีหนึ่งสูงจึงช่วยแก้เหน็บชาตามความเชื่อของชาวจีน


นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ว่าสาร coxenolide ในเมล็ดเดือยมีสรรพคุณในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอก และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือตัวทำละลายอินทรีย์ จากรากหรือเมล็ดเดือยมีฤทธิ์ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น ทำให้เส้นผมเจริญดีขึ้น ลูกเดือยยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคหูดที่มักจะเป็นเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นเพราะสารจากลูกเดือยมีฤทธิ์ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังดีขึ้น หรือจากฤทธิ์ยังยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
มีการทดลองพบว่าเมล็ดลูกเดือยมีสาร Coixans A, B และ C ลดน้ำตาลในเลือดหนูปกติ Coixan A มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนูเป็นเบาหวานได้
สำหรับน้ำลูกเดือยให้ฟอสฟอรัสสูงมากช่วยบำรุงกระดูก รองลงมามีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงธาตุ เป็นอาหารสำหรับคนไข้พักฟื้น ช่วยเจริญอาหาร
นอกจากนี้ลูกเดือย มีกรดอะมิโนที่กระตุ้นให้เซลล์สมองหลั่งสารที่ทำให้นอนหลับ สมองที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา จะได้หยุดพักชั่วคราว จึงแนะนำให้ผู้ที่นอนไม่หลับ ดื่มน้ำอุ่นผสมลูกอาจจะช่วยให้นอนหลับได้ค่ะ








วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การดูแลและรักษาความปลอดภัยระบบ OA





การดูแลและรักษาความปลอดภัยระบบ OA



1.ป้องกันสื่อแม่เหล็ก
จากการวางหรือเก็บไม่เหมาะสม และ Hard Disk ต้องป้องกันจากฝุ่นและการแตกหักทางกายภาพ
2.จัดทำการสำรองข้อมูล

เพื่อควบคุมตามจุดประสงค์ โดยมีแผ่นต้นฉบับและแผ่นสำเนาแล้วจัดเก็บต้นฉบับในที่สมควรและปลอดภัยจากการโจรกรรมและไวรัสทางคอมพิวเตอร์ โดยก่อนใช้ทุกครั้งควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
- ตรวจเช็คจากระบบตรวจสอบภายในคอมพิวเตอร์
- ทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างระมัดระวัง

- ตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์

3.จัดตั้งวิธีรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น
- Passwords เป็นรหัสผ่านด้วยคำเฉพาะ สัญลักษณ์ หรือรหัสอื่น
- Encryption การแย่งใช้ข้อมูลจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งป้องกันข้อมูลลับรั่วไหล
- Call-back จัดระบบโดยกำหนดให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบกลับว่าผู้ร้องขอ ข้อมูลมี อำนาจผ่านเข้ามาจริงหรือไม่
- Key & Card มีกุญแจพิเศษหรือการ์ดแม่เหล็กคล้ายบัตร ATM

- คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น เสียงพูด ลายนิ้วมือ เป็นต้น
4.ใช้การดูแลรักษาและตรวจวัดระบบรักษาความปลอดภัย
เพื่อป้องกันข้อมูลภายใน Internal Memory เช่น อาจเกิดกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ควรติดตั้งระบบป้องกันพลังงานหยุดชะงัก หรือติดตั้งระบบไฟสำรองฉุกเฉิน (UPS)
5.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
รวมทั้งหมั่นคอยดูแลและติดตามความเคลื่อนไหวในการทำงานของระบบเป็นระยะๆ เพื่อสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานหรือไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาทำลายระบบ
6.ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ที่มีเพิ่มขึ้นในโลกธุรกิจเป็นปัญหาระดับชาติโดยการแอบเข้าไปในระบบผู้อื่นแล้วนำข้อมูลกลับมาขายหรือดำเนินการผิดกฏหมายใดๆ ทางธุรกิจต่อระบบคอมพิวเตอร์เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ซึ่งต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน และในขณะที่อยู่ในระหว่างป้องกันตัวเอง ผู้บริหารสำนักงานควรป้องกันข้อมูลโดยการสำรองเก็บตลอดจนเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้งาน



ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้า ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้

รูปแสดงตัวอย่างระบบแพทย์ทางไกล

ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 3 ระบบดังนี้คือ
1) ระบบ Teleradiology เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan Film จาก High Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา
2) ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
3) ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network)
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ Internet ระบบ CD-ROM Server ระบบ ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนระะบบ CD-ROM Server เป็นระบบที่ให้บริการฐานข้อมูลทางการแพทย์จำนวน 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูล Medline Standard ฐานข้อมูล Drugs and Pharmacology ฐานข้อมูล Nursing ฐานข้อมูล Health Planning และฐานข้อมูล Excerpta Medica จำนวน 3 modules ได้แก่ Cardiology, Gestro Intestinal, Nephrology


ภาพตัวอย่างแสดงห้องควบคุมการส่องกล้องของรพ.ศิริราช